หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2560

หลอดไฟ LED ดีอย่างไร

          
ตัวอย่าง หลอดไฟแอลอีดี
คลิ๊กดู หลอดไฟเเอสอีดี
           ปัจจุบันหลอดไฟ LED มีประสิทธิภาพการให้พลังงานแสงสว่างที่ระดับสูงถึง 120 ลูเมน/วัตต์ (หน่วย ค่าความเข้มแสง/กำลังไฟฟ้า) สูงกว่าหลอดไฟฟ้าแบบขดลวดที่มี ประสิทธิภาพที่ระดับ 15 ลูเมน/วัตต์ หลอดไฟแบบฟลูออเรสเซ็นต์ซึ่งมีประสิทธิภาพถึง 80 – 100 ลูเมน/วัตต์ อย่างไรก็ตาม แสงสว่างของหลอดไฟฟลูออเรสเซ็นต์จะกระจายออกไปทุกทิศทาง ทำให้แสงกระจายโดยสูญเปล่าเป็นจำนวนมาก ขณะที่แสงสว่างของหลอดไฟ LED จะส่องไปเฉพาะจุดด้านหน้าเท่านั้น ดังนั้นประสิทธิภาพของหลอดไฟ LED จึงนับว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ ในเรื่องของการประหยัดไฟถึง3เท่า ในปริมาณแสงสว่างที่เท่ากัน ยิ่งไปกว่านั้นหลอดไฟ  LED นั้นก้าวหน้าเร็วมาก ทำให้มีแนวโน้มว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมาใช้หลอดไฟ LEDให้แสงสว่างแทนหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ ความปลอดภัยจากการใช้หลอดไฟLED ทำให้แสงสว่างที่ได้จากการใช้งาน ไม่เกิดอันตรายจากรังสีอินฟราเรด  รังสีอุลตราไวโอเลท สารปรอท และการไม่เกิดการกระพริบของแสงซึ่งเป็นอันตรายต่อสายตา จากการที่ LED ปล่อยความร้อนออกมาน้อยมาก ทำให้อาคารลดการสูญเสีย พลังงานไฟฟ้าในส่วนเครื่องปรับอากาศ ทำให้ช่วยประหยัดพลังงานมากขึ้นไปอีก

เปรียบเทียบหลอดชนิดต่างๆ

อายุการใช้งานของหลอด LED ยาวนานถึง 100,000 ชั่วโมง หรือ 11 ปีเปรียบเทียบกับหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ซึ่งมี อายุใช้งาน 30,000 ชั่วโมง หรือหลอดไฟฟ้าแบบขดลวดที่มีอายุใช้งานเพียง 1,000 – 2,000 ชั่วโมงเท่านั้น หลอด LED ยังมีความทนทานต่อการสั่นสะเทือนมากกว่า จึงเหมาะสมสำหรับติดตั้งในเครื่องบินหรือรถยนต์ นอกจากนี้ หลอด LED ไม่เปราะบางเหมือนกับหลอดไฟฟ้าแบบขดลวดหรือหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ บางครั้งแม้ถูกทุบตีอย่างแรง ก็ยังสามารถใช้งานได้หลอด LED เหมาะสำหรับหลอดไฟที่ต้องการให้เปิดปิดบ่อยครั้ง เนื่องสามารถเปิดปิดบ่อยๆ โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด



วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560

โซล่าฟาร์มลอยน้ำ


โซล่าฟาร์มลอยน้ำ


แผงพลังงานแสงอาทิตย์บนผืนน้ำ


            ปัจจุบันนี้การติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนผืนน้ำนั้นถือเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก หลายประเทศนิยมนำพลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมดและไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่นควัน และมลพิษอื่นๆ ที่ส่งกระทบกับสิ่งแวดล้อม แต่การติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนผืนน้ำนั้นต้องเผชิญกับความยากลำบากเนื่องจากทุกชิ้นส่วนต้องกันน้ำ ทั้งแผงพลังงานและสายเชื่อมต่อ นอกจากนี้ โครงสร้างต้องมีการทำการศึกษาเรื่องผลกระทบต่อคุณภาพน้ำก่อน

ประโยชน์ของโซล่าฟาร์ม



แผงพลังงานแสงอาทิตย์บนผืนน้ำ

ช่วยลดการระเหยน้ำ

            ขณะนี้เราทราบกันดีแล้วว่า ประเทศไทยเรารวมทั้งประเทศอื่นๆ กำลังประสบกับภัยแล้งอย่างรุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี สาเหตุสำคัญเกิดจากปัญหาโลกร้อน และสาเหตุหลักของโลกร้อนก็มาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เผาเชื้อเพลิงฟอสซิลนั่นเอง ดังนั้น การแก้ปัญหาภัยแล้งอย่างถาวรก็คือการหันมาส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยปกติประเทศเราจะได้รับน้ำฝนต่อหนึ่งตารางเมตรประมาณปีละ 1,800-2,400 มิลลิเมตร ในจำนวนนี้จะระเหยขึ้นไปในอากาศประมาณ 650-750 มิลลิเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศและความแรงของลม ดังนั้น ถ้ามีแผงโซล่าเซลล์มาบังแสงแดดและบังลม จะทำให้การระเหยของน้ำลดลงถึง 90%
       การการย้ายแผงพลังงานลอยน้ำไปในทะเลก็ยังถือเป็นแนวคิด เพราะต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย เช่น คลื่น และการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจก่อความเสียหายและทำให้แผงพลังงานแสงอาทิตย์ต้องหยุดดำเนินการ นอกจากนี้ การติดตั้งแผงพลังงานนอกชายฝั่งยังมีต้นทุนสูงอีกด้วย

ช่วยเพิ่มการผลิตไฟฟ้า   

แผงพลังงานแสงอาทิตย์บนผืนน้ำ

            หลายคนมักจะเข้าใจผิดว่ายิ่งมีความเข้มของแสงแดดมาก แผงโซล่าเซลล์ก็จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น แต่ความจริงแล้วปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของแผ่นโซล่าด้วย ถ้าอุณหภูมิต่ำ แต่มีแสงแดด ก็สามารถผลิตไฟฟ้ามากขึ้นเช่นกัน และโซล่าเซลล์ที่ลอยน้ำจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นประมาณ 20% ของการผลิตในสภาพปกติ
       หลายคนอาจสงสัยว่าถ้าเราทำฟาร์มโซล่าเซลล์ขนาดใหญ่บนพื้นน้ำ แล้วจะมีผลกระทบต่อสัตว์น้ำหรือไม่? ซึ่งตอนนี้ทางผู้พัฒนาเทคโนโลยีได้กล่าวว่า วัสดุที่นำมาใช้ในการทำแผงโซลาเซลล์ ทำให้แผงโซลาเซลล์ลอยน้ำมีคุณสมบัติที่ยอมให้ก๊าซออกซิเจนผ่านได้ จึ่งไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำมากนัก
ทั้งนี้การติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนผิวน้ำจะดูดซับแสงอาทิตย์และค่อยๆ ทำให้น้ำด้านล่างเย็นขึ้นและมืดขึ้น ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายอีกด้วย   

แผงพลังงานแสงอาทิตย์บนผืนน้ำ
    

             เรื่องพลังงานเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน เกี่ยวข้องกับทุกการกระทำของชีวิตเรา และนับวันจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานสะอาดและไม่มีวันหมดสิ้น นอกจากข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ยังไม่สูงมากนักแล้ว ปัญหาสำคัญอีกด้านหนึ่งคือ พื้นที่ที่ใช้ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งต้องการพื้นที่โล่งขนาดใหญ่ในการติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ปัญหานี้ได้ถูกการแก้ไขด้วยการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แบบลอยน้ำอยู่ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่  นอกจากปัจจัยด้านพื้นที่ติดตั้งแล้ว ข้อดีอีกด้านหนึ่งของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำคือ ความเย็นของน้ำจะส่งผลดีต่อการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ และลดการระเหยของน้ำในอ่างเก็บน้ำอีกด้วย และเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ ถือว่าเป็นพลังงานทดแทนที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าต่อไปในอนาคต       

วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พลังงานจากฟ้าที่ใช้ได้ทั้งโลก

พลังงานจากฟ้าที่ใช้ได้ทั้งโลก


       คุณอ่านไม่ผิดหรอกครับ พลังงานไฟฟ้าที่มาจากฟ้า อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนอะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ คุณไม่สามารถรู้ได้ว่าคุณจะจากโลกนี้ไปเมื่อไหร่ หรือคุณอาจจะถูกรางวัลใหญ่แล้วกลายเป็นมหาเศรษฐีในวันพรุ่งนี้ก็เป็นได้ กลับมาที่เรื่องของเรา ถ้าผมบอกว่าพลังงานไฟฟ้าที่มาจากฟ้าบางคนอาจจะคิดถึงกังหันลม หรือคิดถึงพลังงานลมที่เอามาทำอะไรสักอย่างให้เป็นไฟฟ้า แต่ในที่นี้ผมจะไม่พูดถึงพลังงานลม เราจะมาพูดถึงกันในเรื่องของ พลังงานแสงอาทิตย์
กังหันลมในปัจจุบัน
       คุณอาจจะสงสัยว่า ทำไมเราพูดถึงพลังงานแสงอาทิตย์แทนพลังงานลมคำตอบนั้นง่ายมากเลยครับเพราะว่าสายลมนั้นเป็นอิสระ เราไม่สามารถบังคับสายลมให้พัดผ่านได้เช่นเดียวกับเราไม่สามารถหยุดการเกิดของแผ่นดินไหวได้  ดังนั้นเราจึงต้องใช้ประโยชน์โดยที่ไม่ฝืนธรรมชาตินั้นจะเป็นผลที่ดีที่สุดนั่นเอง
แสงอาทิตย์ในแต่ละวัน
       คุณทุกคนคงเคยเห็นแผงโซล่าเซลล์กันสินะครับ ใช่ครับผมพูดถึงแผงโซล่าเซลล์ที่ติดตามหลังคาบ้าน หรือกลางแจ้ง และคุณคงจะสงสัยว่ามันมาจากฟ้ายังไงในเมื่อมันวางอยู่บนพื้น บางท่านอาจจะให้เหตุผลว่ามาจากฟ้าคงหมายถึงแสงอาทิตย์ก็คงจะปฎิเสธไม่ได้ แต่ในการทำฟาร์มโซล่าเซลล์ต้องใช้พื้นที่เยอะมากที่จะสามารถใช้ได้ทั้งเมือง แล้วเราต้องเสียพื้นที่มากเท่าไหร่เพื่อที่จะสามารถใช้ได้กันทั่วทั้งโลกล่ะ อาจจะต้องใช้พื้นที่ของประเทศๆหนึ่งไปเลยก็ได้  หากแต่ว่าถ้าเราเอาแผงโซล่าเซลล์นี้ไปวางไว้บนฟ้าแทนล่ะ คนบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าการที่เราส่งดาวเทียมขึ้นไปอยู่บนอวกาศนั้นเราให้มันทำงานอยู่ตลอดเวลานี่คือสิ่งที่คุณรู้ แต่ดาวเทียมนั้นเอาพลังงานมาจากไหน หากมันใช้พลังงานจากแบตเตอร์รี่แล้วแบตเตอร์รี่นั้นมันมีขนาดเท่าไหร่ ถึงจะสามารถจุพลังงานที่ทำให้ดาวเทียมทำงานได้เป็นปีๆโดยไม่มีการหยุดพักเลย คำตอบคือดาวเทียมก็ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ได้มาจากโซล่าเซลล์นั่นเอง บางท่านอาจจะสงสัยว่าจริงหรือเปล่า ผมพูดเล่นหรือเปล่า แต่มันคือเรื่องจริงที่มีมานานมากแล้วเพียงแต่คุณอาจจะไม่เคยสังเกตุเห็นมาก่อนนั่นเอง
ดาวเทียมในอวกาศ
       จากรูปคุณลองมองที่ปีกของดาวเทียมสิครับ มันคือแผงโซล่าเซลล์นั่นเอง แต่ดาวเทียมนั้นพอหมดอายุการใช้งานเราก็ปล่อยมันล่องลอยออกไปนอกโลกกลายเป็ยขยะอวกาศ สมมติว่าเราเอาแผงโซล่าเซลล์ขนาดเท่าที่จ่ายไฟฟ้าให้คนทั้งโลกใช้ได้ไปลอยไว้บนฟ้าแต่เรามีเสายึดไว้ไม่ให้มันลอยออกนอกโลกล่ะ พอผมพูดถึงตรงนี้คำถามที่จะเกิดขึ้นในหัวของพวกคุณก็คือแล้วประเทศไหนจะรับในการตั้งเสาล่ะ แล้วเงาของโซล่าเซลล์ล่ะ มันจะบดบังทั้งประเทศไปเลยนะ เท่ากับว่าจะมีหลายประเทศเลยนะที่เสียหายด้านผลประโยชน์ แต่ทุกปัญหานั้นมีทางออกเสมอครับ ในความคิดของผมถ้าคุณไม่อยากตั้งเสาในประเทศเราก็เลือกที่จะตั้งมันลงในมหาสมุทรสิครับ แน่นอนว่ามีปัญหาตามมาแน่นอน แต่มันคือสิ่งที่ผมคิดเพื่อการดำรงชีพในอนาคตที่กำลังจะมาถึงนั่นเอง